การรับรู้ทางสายตา (Visual Perception)
คือกระบวนการการรับสิ่งเร้าทางตา โดยสามารถแปรข้อมูลและถ่ายทอดความเข้าใจต่อสิ่งเร้านั้น โดยอาศัยข้อมูลประสบการณ์เดิมจากการมองเห็น
การรับรู้ทางสายตา แบ่งออกเป็น 8 ด้าน
1.สหสัมพันธ์ของตาและมือ (Eye-hand coordination) คือสหสัมพันธ์ของการใช้มือและตา เด็กที่มีความบกพร่องในด้านนี้อาจส่งผลให้เขียนตัวเล็กใหญ่เกินบรรทัด
2.การรับรู้ตำแหน่งของวัตถุ (Position in space) คือความสามารถในการรับรู้ตำแหน่ง ทิศทางของภาพที่เหมือนหรือต่างกัน เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้จะส่งผลให้เขียนตัวหนังสือกลับด้าน
3.การคัดลอก (Copying) คือ ความสามารถในการคัดลอกตัวหนังสือหรือรูปภาพ เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้ส่งผลให้การคัดลอกข้อมูลบางส่วนหายไปไม่ครบถ้วน
4.การรับรู้ภาพซ้อน (Figure-ground discrimination) คือ ความสามารถในการแยกแยะวัตถุหรือรูปทรงออกจากพื้นของรูป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้ส่งผลให้ ไม่สามารถ แยกภาพหรือคำได้
5.การรับรู้มิติสัมพันธ์ (Spatial relation) คือ ความสามารถในการรับรู้ตำแหน่งของร่างกายสัมพันธ์กับที่ว่างและสามารถจะรับรู้ตำแหน่งของวัตถุสัมพันธ์กับตัวเองหรือสัมพันธ์กับวัตถุอื่น เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้ส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กจะมีปัญหาในการเรียงลำดับตัวอักษรในคำต่างๆ
6.ความคล่องแคล่วในการใช้สหสัมพันธ์ของตาและมือ (Visual motor speed) คือ ความสามารถในการเขียนได้อย่างแม่นยำ เด็กที่มีความบกพร่องในด้านนี้ จะใช้เวลาในการเขียนนานขึ้น
7.การรับรู้ความคงที่ของวัตถุ (From constancy) คือความสามารถในการรับรู้รูปทรงที่แตกต่างกัน ด้านขนาด แสง เงา พื้นผิว และทิศทางในการจัดวางรูป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้ ส่งผลต่อการเขียนโดยเด็กไม่สามารถจำตัวหนังสือที่เขียนในขนาดหรือสีที่ต่างกัน
8.การจำทางด้านสายตา (Visual memory) คือ ความสามารถในการจำลักษณะเด่นของรูปภาพหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือความสามารถในการเรียงลำดับ ของรูปภาพ ข้อมูลต่างๆสิ่งหนึ่งสิ่งในมากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไป เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านนี้ส่งผลให้เด็กไม่สามารถจดจำคำหรือตัวหนังสือได้